วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

L-carnitine




แอล-คาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เองโดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนสองตัวคือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนิน(methionine) ซึ่งแอล-คาร์นิทีนในร่างกายของคนเราถูกสร้างขึ้นไปใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ หลายอย่าง ที่สามารถพูดในภาพรวมได้ว่า แอล-คาร์นิทีน ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มานี้ส่วนใหญ่ก็ถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรานั่นเอง จากหน้าที่การทำงานพื้นฐานของสารชนิดนี้ทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาให้เห็นว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วคุณจะอยู่นิ่งไม่ได้ รู้สึกคึกคัก คล้ายกับว่าร่างกายมีพลังงานมากเกิน
แอล-คาร์นิทีน ถูกสร้างขึ้นภายในตับและไตและนำไปเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อลายตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ สมองและสเปิร์ม ซึ่งในส่วนของสเปิร์มนั้นจะทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีนจะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรียเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงาน สำหรับในอาหารจะพบสารแอล-คาร์นิทีนได้จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้ ได้แก่ พวกผลอะโวกาโด(Avocado) ธัญพืช ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh)

คนที่รับประทานอาหารมังสะวิรัติอาจจะเกิดการขาดแอล-คาร์นิทีนได้ในบางครั้ง เนื่องจากแอล-คาร์นิทีน พบได้ในเนื้อสัตว์ นมและถั่วหมักหรือในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยขาดแอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบน้อยมาก) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือตับ ไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีนและเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอกเจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำและอาจมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น
คาร์นิทีนที่นำมาใช้นั้นมีหลายลักษณะ เช่นผลิตภัณฑ์บรรจุเม็ดและสารน้ำ เป็นต้น โดยนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมที่ออกมาใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้นมีอยู่สามรูปแบบ
- รูปแบบแรก คือ แอล-คาร์นิทีน(LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและมีราคาถูกที่สุด
- รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine(LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่นำมาใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง
- รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน[L-propionylcarnitine(LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและใช้ได้ผลดีกับโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease-PVD) ถ้าเรากินเข้าไปการดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้แอล-คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน
สำหรับแอล-คาร์นิทีนนั้นมีข้อควรรู้ดังนี้ คือ
1.คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลง ในเหตุผลแรกนี้ก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากกินคาร์นิทีนกันแล้ว ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงก็เพราะเหตุผลที่ว่าเซลล์ในร่างกายทุก ๆเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจหรือเซลล์จากที่อื่น ๆ ของร่างกายทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิดและคาร์นิทีนนี่เองทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น
2. คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์(triglycerides)อยู่ในระดับต่ำและช่วยเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ (HDL-คอเรสเตอรอล) ในเลือด
3. คาร์นีทีนช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)
4. คาร์นีทีน ช่วยให้น้ำหนักลดโดยเฉพาะการใช้ร่วมกับวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ
5. คาร์นีทีน ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ กับร่างกายเหมือนกับที่พบในสารสกัดจากพืชบางชนิด
6. คาร์นิทีนช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ
7. คาร์นิทีนและ อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน(Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
8. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียดและอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้
9. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวกและลดภาวะความเครียด
10. คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนเรา
จาก กล่องวางภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น